วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคหนังแข็ง

โรคหนังแข็ง
- จากประสบการณ์ที่พบ เป็นโรคทีเกิดกับผู้ออกกำลังกาย มากเกินไป(Over Excersise) มีโอกาสเกิดขึ้น 1 คน ใน 1 แสนคน จากประสบการณ์ที่พบ เป็นผู้ออกกำลังกายวิ่งวันละหลายกิโลเมตร วิ่งเช้า เย็น บางครั้งช่วงเช้าวิ่งโดนแสงแดดมากเป็นประจำ และเสียชีวิตตอนอายุ 62 ปี โดยอวัยภายในเสื่อม
- ข้อมูลอีกอันหนึ่งที่พบ
โรคหนังแข็งเป็นอย่างไร อาการ สาเหตุ (scleroderma)(มิสรุ่งอรุณ เนตรสูงเนิน) 
โรคหนังแข็งเป็นอย่างไร อาการ สาเหตุ (scleroderma) 
มนุษย์ทุกคนเกิดมามีการเกิดแก่ เจ็บ และก็ตาย บางคนก็ตายเพราะอายุขัย  แต่บางคนตายด้วยอุบัติเหตุ  บางคนก็ตายด้วยอาการเจ็บป่วยจากโรคที่คุกคามรุมเร้า  ที่ดิฉันเขียนเช่นนี้เพราะอยากให้ผู้อ่านที่เข้ามาอ่านบทความของดิฉันมีสติ ไม่ประมาทในชีวิตและอยากให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรค  ซึ่งโรคนี้บางท่านอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเลย  มันเป็นโรคที่ไม่มีตัวยารักษาให้หายได้  มีแค่ยาที่ช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น  ซึ่งโรคนี้มันกำลังคุกคามชีวิตของแม่ของดิฉันลงทุกวัน ๆ  คุณหมอบอกว่าใครเป็นโรคนี้ถือว่าโชคร้ายมาก 100,000 คน จะเป็น 1 คน  บางทีฉันก็แอบน้อยใจทำไมแม่ฉันต้องเป็นโรคนี้ด้วยทั้งที่เขามีอายุที่ไม่น่าเป็นโรคนี้เลย  แม่ฉันอายุ  50 ปี เขาจะปวดนิ้วเท้าที่ดำเพราะไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง  ปวดทั้งวันทั้งคืน  นอนร้องอย่างน่าเวทนาที่สุด นิ้วที่ดำก็ต้องตัดไปเรื่อย ๆ  แม่มีผังผืดจับที่ปอดด้วย  หายใจลำบากมาก  ฉันทรมานทุกครั้งที่เห็นแม่เจ็บปวด  บางที่แอบร้องให้คนเดียว  ฉันจะทำทุกย่างที่ให้แม่ของฉันมีความสุข    ถึงแม้ว่าฉันจะรู้ว่าเวลาที่เหลือมันช่างเหลือน้อยลงๆ ทุกวัน ฉันอยากให้ผู้ที่อ่านเรื่องนี้รู้เท่าทันโรค  และเป็นประโยชน์ในชีวิตต่อไป 
โรคหนังแข็ง (scleroderma) โดยโรคดังกล่าวพบมานานแล้ว และจะเกิดเฉพาะบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเป็นเพียง 1,000 ต่อ 67 ล้านคนเท่านั้น 
ลักษณะของโรคหนังแข็ง 
โรคหนังแข็งเป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ทำให้เกิดอัตราความพิการสูง ในคนไทยพบอุบัติการของโรคประมาณ 1/100,000 คน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงอายุ 40-50 ปี อัตราส่วนของเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2 : 1 
โรคหนังแข็งมี 3 ระยะ คือ ระยะการอักเสบ บุคคลทั่วไปสามารถสังเกต และรับรู้ได้ คือปวดตามข้อ ผิวหนังตึง และปวม ระยะที่ 2 ผิวหนังเริ่มแข็ง หากถูกความเย็นจะซีดและกลายเป็นสีดำ ระยะที่ 3 ถือว่ารุนแรง ปรากฏผิวหนังแข็ง และมีสีดำไปทั่วทั้งตัว ตกสะเก็ด หนังหุ้มกระดูก และกระทบต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย หากคนไข้อยู่ในระยะที่ 1-2 สามารถรักษาได้ทันท่วงที จะทำให้ดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 
โรคหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ อาการของโรคมีได้หลายแบบขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ มีสะสมของผังผืดคอลลาเจนที่ผนังหลอดเลือด และอวัยวะภายในร่างกายมีการแข็ง และหนาตัวของผิวหนัง การแข็งตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนัง และอวัยวะภายใน เช่น หลอดอาหาร ปอด หัวใจ และไต ทำให้เกิดอาการที่ระบบนั้นๆ 
การดำเนินโรคในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันมาก อาจใช้เวลาเพียง 1-2 เดือน หรือนานเป็นปีกว่าจะมาพบแพทย์ พวกที่มีการดำเนินโรคเร็วมักจะมีพยากรณ์โรคไม่ดี มักจะมีพยาธิสภาพของอวัยวะภายในร่วมด้วยบ่อย ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากอาการทางปอด หัวใจ และไต ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีแรกหลังจากที่เริ่มมีอาการ 
สาเหตุโรคหนังแข็ง 
โรคหนังแข็งเป็นโรคในระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ไม่ทราบสาเหตุ ทำให้มีเนื้อเยื่อพังผืดแทรกอยู่ในชั้นผิวหนัง และอวัยวะภายในมากผิดปกติ ความหมายของ “sclerodema” ตามศัพท์นั้นหมายถึง “ผิวหนังแข็ง” โดยไม่ได้จำกัดว่าจะเกิดจากสาเหตุใด อาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีหรือได้รับยาบางชนิด เกิดตามหลังการบาดเจ็บ หรือเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคทางเมตาบอลิกอื่นๆ หรือพบร่วมกับโรคมะเร็ง แต่ในทางปฎิบัติแล้วเมื่อกล่าวถึง scleroderma มักหมายถึงโรคหนังแข็งปฐมภูมิที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด 
โรคนี้เป็นโรคเก่าแก่มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยฮิปโปเครติส (460-370 ปีก่อนคริสตศักราช) แต่ได้รับการเขียนบันทึกบรรยายลักษณะของโรคโดย Curzio เมื่อปี ค.ศ. 1753 แต่ยังไม่มีการตั้งชื่อโรค จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1847 จึงได้มีการใช้ชื่อ sclerodermie เป็นครั้งแรกโดย Gintrac ชื่อนี้ดัดแปลงมาจากภาษาลาติน (scleros=hard, derma=skin) และได้มีการใช้ต่อมาเป็น scleroderma ในที่สุด 

อาการโรคหนังแข็ง 
อาการทางผิวหนัง ผิวหนังจะสีดำ กำมือไม่ได้ มือจะขาว หรือซีด ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดหดตัว ต่อมาจะมีสีม่วงหรือคล้ำเนื่องจากผิวหนังขาดออกซิเจน หลังจากนั้นผิวหนังจะมีสีแดงเนื่องจากเลือดจะไหลไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น ผิวหนังจะเกิดอาการเหล่านี้เมื่อสัมผัสอากาศหรือน้ำเย็น อาจพบมีแผลจุดเล็กๆ ที่ปลายนิ้ว ผิวหนังที่เริ่มเป็นมักจะเกิดบริเวณมือ ต่อมาจะลามมาที่แขน หน้า และลำตัว ผู้ป่วยทำหน้าผากย่นไม่ได้ ยิ้มยาก ตามตัวพบด่างขาวเป็นจุด 
หลอดอาหาร พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 80 มีอาการกลืนลำบาก เจ็บเวลากลืน เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารน้อย หรือมีกรดไหลย้อน หรือหลอดอาหารอักเสบ การวินิจฉัยทำได้โดยการกลืนแป้งตรวจหลอดอาหาร จะพบว่าหลอดอาหารจะมีการบีบตัวน้อยลง ผังผืดที่ปอด พบได้บ่อยรองจากทางเดินอาหาร โดยพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 40-90 ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ความหลอดเลือดในปอดเพิ่มทำให้เกิดหัวใจห้องขวาวาย 
หัวใจ และหลอดเลือด มักจะไม่ค่อยมีอาการจากการตรวจศพ พบว่าอัตราการเกิดโรคที่หัวใจพบได้ร้อยละ 30-80 หากมีอาการทางหัวใจพบว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 70 ใน 5 ปี 
ไต พบได้ร้อยละ 10-40 ของผู้ป่วย และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูง อาการของโรคไตมีสองชนิดคือชนิดเฉียบพลันผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ความดันโลหิตสูง ตามัวลง และชนิดเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการ 
กล้ามเนื้อ และข้อ พบว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และมีการอักเสบของข้อ และมีหินปูนเกาะที่เอ็น 
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคหนังแข็ง 
เกณฑ์หลัก ได้แก่ ผิวหนังส่วนลำตัวหรือแขนขาแข็งตัว หนาตัว และบวม 
เกณฑ์การวินิจฉัยรอง ได้แก่ ผิวหนังที่นิ้วจะแข็ง กำมือลำบาก ปลายนิ้วมีแผล ปอดมีผังผืด 
การวินิจฉัยประกอบไปด้วยเกณฑ์หลัก 1 ข้อ และเกณฑ์รองอย่างน้อย 2 ข้อ 
การรักษาโรคหนังแข็ง 
การรักษาความผิดปกติที่ผิวหนังโดยใช้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อลดอาการหดตัวของหลอดเลือด เพิ่มการหมุนเวียนของหลอดเลือดมากขึ้น นิยมใช้ยากลุ่ม calcium channel blocker และยากลุ่ม angiotensin II receptor type I antagonist นอกจากนี้มีรายงานการใช้ยากลุ่ม prostacyclin antagonist ได้ผลดีเช่นกัน 
ยาลดการเกิดเยื่อพังผืด ช่วยลดการทำลายอวัยวะที่สำคัญ D-pennicillamine, colchicine และgamma interferon 
ยาชื่อ relaxin ซึ่งเป็นโปลิเปปไทด์ และจัดเป็น cytokine growth factor ชนิดหนึ่งที่ยับยั้ง transforming growth factor beta overexpression ของโปรคอลลาเจนชนิด I และ II และเพิ่มการสร้างเอนไซม์ matrix metalloproteinase 
ยาลดการอักเสบ หรือกดภูมิคุ้มกัน ได้แก่ glucocorticoids, azathioprine, cyclophosphamide 
ผู้ป่วยควรจะได้รับอาหารที่เคี้ยวง่าย และมีโปรตีนสูง รวมทั้งควรจะได้รับวิตามินเสริม ไม่ควรรับประทานสารที่มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดตีบ รักษาร่างกายให้อบอุ่นรวมทั้งมือและเท้า ควรจะสวมถุงมือหรือถุงเท้าในฤดูหนาว หากมีอาการมาก อาจจะต้องแช่น้ำอุ่นทุก 4 ชั่วโมง การทำกายภาพบำบัดโดยการนวดด้วยน้ำอุ่น หรือการออกกำลังกาย ช่วยชลอการดำเนินของโรค ทาครีมบริเวณผิวหนังที่แข็ง และ หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้โรคเป็นมากขึ้น เช่น silica, chlorinated ethylens, solvents, plastic monomers 

                                    ...........................................................



วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ห่างไกลโรคข้อ-ปวดคอ ปวดหลัง


เป็นการบรรยายของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ  นายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการ  ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย เรื่อง "การดูแลสุขภาพ :  
ห่างไกลโรคข้อ - ปวดคอ ปวดหลัง และการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน"
 
ในสภาวะปกติ กระดูกคนเราจะมีทั้งการสร้างและการทำลายเนื้อกระดูกพร้อม ๆ กันไปตลอดเวลา โดยที่อัตราการสร้างและการทำลายนี้จะมีพอ ๆ กัน จึงอยู่ในสมดุล และในสภาวะบางอย่างจะมีการกระตุ้นให้มีการทำลายเนื้อกระดูกมากขึ้นโดยที่การสร้างจะน้อยลง ซึ่งเป็นปัจจัยให้กระดูกบางโดยเฉพาะในคนสูงอายุ จนท้ายสุดกระดูกนั้นจะหักและทรุดง่าย  จุดที่พบได้บ่อยคือ ที่ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง ประกอบด้วย กระดูกคอ ทรวงอก เอว แ ละ ก้นกบ เรียงต่อกันจากคอลงมาถึงก้นมีลักษณะแอ่น(คอ)  โค้ง(ทรวงอก)  แอ่น(เอว)  โค้ง(ก้นกบ)  ตามลำดับ หักลบกันแล้วจะเป็นเส้นตรง
1. กระดูกคอ  เคลื่อนไหวได้ทุกทิศ คือ ก้ม เงย ตะแคงซ้าย ขวา หมุนซ้าย ขวา  จึงทำให้สึกหรอและปวดได้ง่ายกว่าที่อื่น สาเหตุที่ทำให้คอสึก คือ การนั่ง นอน ทำงาน ในท่าที่ไม่ถูกต้อง 
2. กระดูกทรวงอก  เคลื่อนไหวก้มไม่ได้ ได้แต่เอนกับหมุนบิดซ้ายขวา  จึงไม่ค่อยเสื่อม 
3. กระดูกเอว  เคลื่อนไหวได้มาก คือ ก้ม และ เงย
 
หมอนรองกระดูก  
มีลักษณะประกบกันเฉย ๆ โดยมีตัวยึด 4 จุด  ตัวที่ยึดนี้เรียกว่า ข้อ  ตรงกลางหมอนรองกระดูกเป็นศูนย์รวมประสาท  เส้นประสาทจะโผล่ออก มาตามข้อเพื่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  หมอนรองกระดูกจะสึกไปเรื่อย ๆ ตามอายุ  ตลอดชีวิตจะสึก 4 ซม. ถือว่าปกติ เช่นสูง 170 พอแก่อายุ 70-80 ปี ความสูงลดลงเหลือ 166 ถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ  แต่ถ้าเตี้ยลงปีละ 1 ซม. ถือว่าเป็นโรคกระดูกผุ  หญิงวัย 55 ปีขึ้นไป กระดูกจะทรุดลงตามธรรมชาติ  ตัวก็จะเตี้ยลง และมีพุงยื่น
 
เส้นประสาทคอ  
มี 8 คู่   ถ้าเกิดกระดูกคอเสื่อมจะเป็นต้นเหตุของอาการปวดตามที่ต่าง ๆ  โดยคู่ที่ 1 จะไปที่หัว  คู่ที่ 2 หลังหู กระบอกตา ขมับ   คู่ที่ 3 ต้นคอ   คู่ที่ 4 สะบัก   คู่ที่ 5 บ่าและไหล่   คู่ที่6 ต้นแขน   คู่ที่ 7 ปลายแขน   และคู่ที่ 8 มือ
 
เส้นประสาทเอว  
มี 5 คู่ คือ คู่ที่ 1 เอว   คู่ที่ 2 โคนขา   คู่ที่ 3 หัวเข่า   คู่ที่ 4 น่อง   และคู่ที่ 5 เท้า  
 
การปรับปรุงท่าทางในกิจวัตรประจำวัน
ท่านอน  ต้องเหมือนกับคนยืนตรง  เวลานอนให้ใช้หมอนหนุนคอ  จงจำไว้หมอนมีไว้หนุนคอ ไม่ใช่หนุนหัว  หมอนที่ดีมีลักษณะตรงกลางบางกว่าซ้ายและขวา  หากไม่มีหมอนจะใช้ผ้าขนหนูม้วนเป็นแท่ง แล้วรองหนุนคอให้พอดีก็ได้
นอนหงาย  การนอนหงายจะทำให้หลังแอ่น  วิธีแก้ต้องงอสะโพกและเข่า โดยมีหมอนรองใต้โคนขา หลังจะแบบเรียบติดที่นอน 
นอนตะแคง  เป็นท่านอนที่ดีที่สุด หลังจะตรง นอนตะแคงข้างใด ก็ได้โดยกอดหมอนข้างใบใหญ่ ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอก่ายบนหมอนข้าง  
นอนคว่ำ  เป็นท่านอนที่ไม่ดี ห้ามนอนท่านี้เด็ดขาด เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ทำให้ปวดหลังระดับเอวมากขึ้น กระดูกเอวและคอเสื่อม  

การลุกจากที่นอนและการลงนอน    ห้ามสปริงตัวลุกขึ้นมาตรง ๆ เพราะหลังจะสึกมาก ควรปฏิบัติดังนี้
ถ้านอนหงายอยู่ให้งอเข่าขึ้นมาก่อน   ตะแคงตัวในขณะเข่ายังงออยู่  ใช้ข้อศอกและมือยันตัวขึ้นในขณะที ่ห้อยเท้าทั้ง 2 ข้าง ลงจากเตียง  ดันตัวขึ้นมาในท่านั่งตรงได้ โดยให้เท้าวางราบบนพื้น  ในท่าลงนอนให้ทำสวนกับข้างบนนี้

การดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ  
ห้ามนอนดู TV หรือนอนอ่านหนังสือ เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกคอสึก  ควรนั่งจะดีกว่า

การนั่ง  
ควรนั่งเข้าให้สุดที่รองก้น  หลังพิงสนิทกับพนักพิง หลังจะตรง   เท้าวางบนพื้นเต็มเท้า
ส่วนสำคัญของเก้าอี้
- สูงพอดีเท้าวางราบบนพื้นได้                    
-  ที่นั่ง รองรับจากก้นถึงใต้เข่า                  
- พนักพิง เริ่มจากที่นั่งสูงถึงระดับสะบัก โดยทำมุม 110 องศากับที่นั่งรองก้น                     
 
โต๊ะทำงาน ควรจะลาดเอียงเทเข้าหาตัว แบบโต๊ะสถาปนิก คอจะได้ไม่ต้องก้มอ่านหนังสือ

ท่านั่งคอมพิวเตอร์และพิมพ์ดีด
จอคอมพิวเตอร์ควรตั้งอยู่ตรงระดับหน้าเหมือนที่ตั้งโน้ตดนตรีและอยู่สูงพอดีระดับตา จะได้มองตรงๆได้ ระยะห่างประมาณ 2-3 ฟุต  มีแผ่นกรองแสง คีย์บอร์ดควรอยู่ระดับเอว หรืออยู่เหนือตักเล็กน้อย ไม่ควรวางคีย์บอร์ดบนโต๊ะเพราะต้องยกไหล่ ทำให้ปวดไหล่

ท่านั่งของผู้บริหาร  
เก้าอี้ส่วนใหญ่ของผู้บริหารจะเอนไปข้างหลังได้ จึงจำเป็นต้องก้มคออยู่เสมอ ทำให้เหมือนกับนอนหมอนสูง
วิธีแก้ ควรให้พนักพิงสูงขึ้นไปจนรองรับศรีษะได้ และควรจะให้บริเวณต้นคอนูนกว่าส่วนอื่น เพื่อรองรับกระดูกต้นคอด้วย หรือมิฉะนั้นให้นั่งเก้าอี้ที่เอนไม่ได้จะดีกว่า เมื่อจะลุกจากที่นั่ง ให้เขยิบก้นออกมาครึ่งหนึ่ง  ก้าวเท้าออกไป มือยันที่ท้าวแขน แล้วลุกขึ้น

นั่งขับรถยนต์  
เลื่อนที่นั่งให้ใกล้พวงมาลัย เมื่อเวลาเหยียบครัชเต็มที่ เข่าควรสูงกว่าสะโพก   หลังควรมีหมอนรองถ้าที่นั่งลึกเกินไปและพนักพิงไม่ควรเอนเกิน 100 องศา   ถ้าที่นั่งนุ่มและ นั่งแล้วก้นจมลงในเบาะ ต้องมีเบาะเสริมก้นด้วย   การเข้านั่งรถยนต์ ให้เปิดประตู หันหลังให้เบาะนั่ง ลงนั่งตรง ๆ แล้วจึงค่อย ๆ หมุนตัวไปข้างหน้าพร้อมยกเท้าเข้ามาในรถทีละข้าง  การลงจากรถยนต์ ให้ทำย้อนทาง

การดันหรือผลักรถ  ให้หันหลังใช้ก้นดัน

การฉุดลาก ให้หันหลังให้วัตถุที่จะฉุดลาก

ไอจาม  ห้ามก้มหลังขณะไอจามเด็ดขาด เพราะเวลาไอจามจะมีแรงกระแทกมาก  ให้ยืดหลังให้ตรง ใช้มือหนึ่งกดหลังไว้ อีกมือหนึ่งปิดปาก แล้วค่อยไอ หรือจาม

แปรงฟัน  ให้ยืนหรือนั่งแปรงฟัน  ห้ามก้มหลังแปรงฟัน

อาบน้ำ  ให้นั่งหรือยืนอาบน้ำ  โดยเวลาถูสบู่ที่ขาให้ยกขาขึ้นมาถูสบู่   ไม่ให้ก้มหลัง           
 
การยืนนาน ๆ  ควรมีตั่งรองเท้าสูงประมาณครึ่งน่อง เพื่อยกเท้าขึ้นพักสลับข้างกัน ทั้งนี้เพราะเวลางอสะโพกและเข่า กระดูกสันหลังจะตั้งตรงไม่แอ่นหรืองอ ทำให้ยืนได้นานโดยไม่ปวดหลัง และช่วยพักขาเวลาเมื่อยและสามารถเปลี่ยนสลับขาบนตั่งได้  

ท่าบริหาร  เป็นการป้องกันไม่ให้กระดูก เสื่อมเร็ว โดยมีหลักการคือทำอย่างไรให้กล้ามเนื้อทุกส่วนแข็งแรงเท่า ๆ กัน   และออกแรงอย่างไรให้กล้ามเนื้อคลายตัว   ทำท่าละ 10 รอบ  ถ้าเกินจะทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย  มี 6 ท่า ดังนี้
1. กล้ามเนื้อหน้าท้อง
1.1  นอนหงาย  งอเข่า 2 ข้าง  มือสอดใต้คอ  ยกหัวนิดนึงพร้อมเหยียดขาตรง  นับ 1-5
1.2  นอนหงายขาซ้ายไขว่ห้าง  มือสอดใต้คอ  ยกข้อศอกและลำตัวขวาเข้าหาขาซ้ายที่ไขว่ห้างอยู่  นับ 1-5  ทำทั้งซ้ายและขวา
1.3  ยกขาลอยเหยียดตรง 1 ข้าง  บิดสะโพก (ยักสะโพก)  นับ 1-5  ทำทั้ง 2 ข้าง
1.4  ขมิบก้น  นอนหงายกอดอก ขมิบก้น ให้ก้นสูงขึ้นเล็กน้อย หลังแนบพื้น นับ 1-5 
2. กล้ามเนื้อหลัง  นอนหงายงอเข่า 2 ข้าง มือสอดใต้เข่า  ดึงเข่าชิดหน้าอก  นับ 1-5  
3. กล้ามเนื้องอสะโพก  ทำแบบท่ากล้ามเนื้อหลัง  แต่งอเข่าข้างเดียว  นับ 1-5   ทำทั้ง 2 ข้าง
4. กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก  นอนหงาย งอเข่าข้างหนึ่งไว้แล้วใช้ส้นเท้าอีกข้างหนึ่งกดเข่าที่งออยู่แล้วดันเอนมา จนชิดพื้น นับ 1-5  ทำสลับกัน
5. กล้ามเนื้อโคนขา  นั่งกับพื้นงอเข่าข้างหนึ่ง ขาอีกข้างเหยียดตรง เอามือแตะปลายเท้าที่เหยียดตรง  นับ 1-5  ทำทั้ง 2 ข้าง
6. กล้ามเนื้อน่อง  ยืนหันหน้าเข้าหาโต๊ะ เอามือยันโต๊ะ งอเข่าหน้าไปข้างหน้า ขาหลังเหยียดตรง แอ่นตัวไปข้างหน้า นับ 1-5  ทำสลับข้าง

สรุปประเด็นสำคัญช่วงคำถามคำตอบ
ที่นอนที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร  
ควรนุ่มพอควร เวลานอนไม่จมมาก จมแค่ 1-2 ซม.  ควรเป็นที่นอนที่ใช้ใยกากมะพร้าวจะดีที่สุดเพราะโปร่ง อากาศผ่านได้  

เก้าอี้เหล็กไฟฟ้า ตัวละแสน  เป็นกระแสแม่เหล็ก
มีรังสีแม่เหล็ก เบต้า หรือแกรมม่า ทำให้เกิดมะเร็ง  ใช้นวดกล้ามเนื้อไม่ได้ผล เป็นการหลอกลวงสายไฟฟ้าแรงสูง  คนที่อยู่ใต้ไฟฟ้าแรงสูง ในรัศมี 60 เมตร มีสถิติเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดสูง  ต้องอยู่ห่างเกิน 100 เมตร ขึ้นไปจึงจะปลอดภัย
 
การเล่นกอล์ฟ  
การบาดเจ็บจะเกิดจากการไดร์ฟ 99%  อีก 1% บาดเจ็บจากสนาม  การไดร์ฟกอล์ฟปกติไม่มีปัญหากับกระดูกสันหลัง  แต่ถ้าไดร์ฟติดต่อกันโดยไม่หยุด เช่นมีเครื่องตั้งกอล์ฟ หรือบางรายตีโดนอิฐ ดิน ไหปลาร้าหักได้  คนที่ผ่าตัดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทสามารถเล่นกอล์ฟได้โดยใส่เสื้อพิเศษป้องกัน  คนที่ผ่าตัดหมอนรองกระดูกที่ต้นคอโดยเอากระดูกเชิงกรานมาต่อ ข้อกระดูกคอจะหายไ ป 1 ข้อ และเชื่อมกระดูกแล้ว สามารถออกกำลังกายได้
 
การเสื่อมของกระดูก  
จะเกิดขึ้นมากในขณะที่เราอยู่เฉย ๆ เช่น นอน นั่ง เพราะกินเวลานาน   แต่ถ้าเคลื่อนไหวการเสื่อมจะน้อยกว่าเพราะกินเวลาน้อย
 
โยคะ  
การฝึกโยคะมีผลดีต่อการฝึกลมหายใจและได้สมาธิ แต่ไม่ถือเป็นการออกกำลังกาย  และบางท่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่เสี่ยงอันตรายต่อกระดูกเพราะเกินกว่าธรรมชาติ เช่น การทรงตัวบนพื้นด้วยศรีษะ การแอ่นหลัง ทำให้กระดูกหลังเสื่อมมาก        
 
ไท้เก๊ก  
เป็นการออกกำลังกายที่ยอดเยี่ยมมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ   อาจารย์เคยทำวิจัยเกี่ยวกับ ชี่กง (คือการออกกำลังกายตามมโนภาพ เช่น วาดมโนภาพว่ายกของหนัก น้ำหนักเท่าไรก็ได้แล้วแต่จะนึก) โดยใช้คน 30 คน เป็นเวลา 3 เดือน ได้ผลคือเหงื่อออกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นมาก  นอกจากนี้อาจารย์มีโครงการจะทำวิจัยกับคนกลุ่มใหญ่ขึ้น โดยเน้นผลในเรื่องหัวใจ ความดันโลหิต และชีพจร

เก้าอี้ไฟฟ้านวดทั้งตัว  
ไม่มีประโยชน์เสียเงินเปล่า เพราะนวดทั้งตัว แต่เราต้องการเฉพาะจุด  และ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ แต่รักษาที่ปลายเหตุ  เช่นเดียวกับบริการของหมอนวด นวดวันนี้สบาย พรุ่งนี้ปวดอีกแล้ว  ควรรักษาที่ต้นเหตุด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

การดึงคอ  
คือการดึงเอ็นที่ยึดอยู่ให้ห่างออก  คนที่ข้อต่อกระดูกหลังยุบรักษาโดยการดึงคอได้  การ ดึงคอ มีข้อห้าม 3 กรณีคือ กระดูกหัก กระดูกเชื่อมต่อกันหมด หรือเป็นโรครูมาตอยด์ ทั้งนี้ต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญวินิจฉัยก่อนว่าไม่ได้เป็น 3 โรคที่กล่าว และควรกระทำโดยผู้ชำนาญการจึงจะปลอดภัย
 
จ็อกกิ้งและเต้นแอโรบิค  
เป็นการออกกำลังกายที่หนัก และมีผลต่อกระดูกมาก ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่ายกว่าการเดิน ยกตัวอย่าง การเดิน น้ำหนักขาที่เราวางบนพื้นเท่ากับน้ำหนักขา เช่น ขาหนัก 10 กก. เวลาเดินจะเกิดแรงกระแทกเท่ากับ 10 กก.  แต่ถ้าวิ่ง น้ำหนักตัว 60 กก. วิ่ง 3 กม./ชม. ขณะวิ่งไปข้างหน้า 2 ขาจะลอยจากพื้นแรงกระแทกจะคูณ 3 เท่ากับ 180 กก. การวิ่งทำให้กระดูกเสื่อมมากกว่าการเดิน ถ้าอยากถนอมกระดูกและข้อให้เดินดีกว่า  
การวิ่งมีข้อดีทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง แต่มีข้อเสียคือขาพังเข่าพัง   ขณะวิ่งห้ามหยุดทันทีเพราะเลือดจะตกไปที่ขาทำให้หัวใจวายได้  แม้แต่บิดาแห่งจ็อคกิ้งก็ยังหัวใจวายคาที่ ดังนั้นในการออกกำลังกายต้องเลือกท่าบริหาร พื้นลู่วิ่งและรองเท้าที่เหมาะสม
 
การออกกำลังกาย  
ต้องคำนึงถึงวัยและความเหมาะสมกับตัวเรา  ในวัยหนุ่มสาวออกกำลังกายโดยการวิ่งได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ๆ ต้องเปลี่ยนให้เบาลง เป็นว่ายน้ำ   เดิน  พออายุ 80-90 ปี แค่ยืนแกว่งแขน หรือรำมวยจีนก็พอ ขอให้คำนึงถึงสายกลางเพื่อสุขภาพนั่งสมาธิ  ไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ  
 
นั่งอย่างไรก็ได้ที่ทำให้เกิดสมาธิดีที่สุด
ควรนั่งเก้าอี้ดีที่สุด
 
การรักษาโดยหมอแผนโบราณ
ที่ดึงกระดูกปุ๊บแล้วเข้าที่   มีความเสี่ยงสูงและไม่มีใครรับรองผล  ที่ดึงแล้วหายก็มี  แต่ที่ดึงแล้วเป็นอัมพาต หรือกระดูกหักก็มี
 
ท่าออกกำลังกายโดยการก้มเอามือแตะเท้า  
เป็นท่าที่อันตราย ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม  

นิ้ว  
ห้ามหักหรืองอ  ให้ดึงได้อย่างเดียวคือดึงตรงๆจะเกิดเสียงดังเป๊าะ ในข้อนิ้วจะลดแรงกดดันทำให้สบายขึ้น
 
การนั่งซักผ้านานๆ  
จะทำให้ปวดหลัง ควรนั่งเก้าอี้และวางกาละมังผ้าบนโต๊ะ หรือยืนซักจะทำให้ไม่ปวดหลัง

การหยิบของที่พื้น  
ห้ามก้มเด็ดขาด ให้ย่อเข่าลงแล้วหยิบ  ถ้าของหนักให้ย่อเข่าแล้วหยิบของมาอุ้มไว้กับอกแล้วลุกขึ้น.    
 

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

น้ำมะพร้าวอ่อน” พระเอกตัวใหม่ในวงการแพทย์ สารพัดประโยชน์ที่คุณต้องรู้ เพราะมันดีจริงๆจาก FB


4

ในทางอายุรเวช  น้ำมะพร้าว  ถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ ที่ช่วยในการักษาและมีคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น  ช่วยล้างพิษ  ดูดซับและขับของเสียออกจากร่างกายทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยสดใส  ถือว่าน้ำมะพร้าวเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ส่วนเนื้อมะพร้าวอ่อนและแก่  ได้รับการยืนยันในทางการแพทย์ว่าช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ  ซึ่งหลายคนจะเข้าใจผิดว่าเนื้อมะพร้าวและกะทิจะทำลายสุขภาพ ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะในเนื้อมะพร้าวมีไขมันเชิงเดี่ยวเผาผลาญได้ง่าย ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานในการเผาผลาญจึงถือได้ว่า ช่วยลดความอ้วนได้อีกทางหนึ่งด้วย

น้ำมะพร้าวอ่อน เรารู้จักกันดีว่ามีรสชาติหอมหวาน นอกจากจะใช้ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ทราบหรือไม่ว่าน้ำมะพร้าวอ่อนยังสามารถดื่มเพื่อทดแทนเกลือแร่เวลาที่เราสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย หรือขาดเกลือแร่เนื่องจากอาการท้องเสียได้ดีอีกด้วย

” น้ำมะพร้าว” ถือ เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ เพราะต้นมะพร้าวมีลำต้นสูง

ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบนน้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิดเช่น โพแทสเซียมเหล็ก โซเดียมแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์และวิตามินบี แถมย ังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง ดีจริงหรือ ?

ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รายชื่อสารพัดอาหารบํารุงครรภ์ จากทุกสารทิศ หนึ่งในนั้นหนีไม่พ้น ‘น้ำมะพร้าว’ เรียกว่าเป็นเครื่องดื่มสําหรับคนท้องเลยก็ว่าได้ ด้วยสรรพคุณที่ได้ยินกันมาว่า เป็นน้ำที่สะอาด ดื่มเข้าไปแล้ว จะทําให้เด็กในท้อง ตัวสะอาด คลอดออกมาแล้วลูกจะผิวสะอาด ไม่มีไขมันติดตามตัวค่ะ

ดื่มน้ำมะพร้าว ลูกในท้องตัวสะอาด

จากการสอบถาม นพ.อนันต์ โลหะพัฒนะบํารุง กุมารแพทย์ คุณหมอได้ให้ความเห็นในเรื่องน้ำมะพร้าวว่า “ในน้ำมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวก็มี มีทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นข้อดี เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำมะพร้าว จะทําให้การสร้างไขตัวเด็กได้สีค่อนข้างขาว เลยอาจจะดูว่าเด็กออกมาตัวสะอาด คงไม่ใช่ออกมาแล้วเด็กไม่มีไข”

จริงๆ แล้วไขตัวเด็กนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทําให้เด็กคลอดง่าย ฉะนั้นคุณแม่ที่ดื่ม
น้ำมะพร้าวบ่อยๆ อาจจะทําให้ไขตัวเด็กมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพียงแต่สีจะสะอาด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่เด็กต้องมีไขมันห่อหุ้มตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิจากภายนอกด้วย”

ในน้ำมะพร้าวมีอะไรบ้าง?
เอ่ยถึงในแง่ธรรมชาติบําบัด น้ำมะพร้าว เป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีแร่ธาตุสําคัญต่อร่างกาย ได้แก่ โปรตีน น้ำตาล แคลเซียม โปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส และไขมันที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย แถมน้ำมะพร้าว ยังเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่เหมือนใครตรงที่ มะพร้าวมีลําต้นสูง กว่าต้นมะพร้าวน้ำจะออกดอกเป็นผล มีน้ำให้ได้ดื่มกัน ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ มาแล้ว คนไทยจึงถือว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์มาก

ประโยชน์มากมาย
น้ำมะพร้าว สามารถดื่มเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้นิ่ว บํารุงเส้นเอ็น บํารุงกระดูก มีฤทธิ์เป็นกลาง สามารถขับพยาธิ ร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสจากน้ำมะพร้าวไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ร่างกายสดชื่น (ใครชื่นชอบน้ำอัดลมเพื่อดับกระหาย ลองเปลี่ยนเป็นน้ำมะพร้าวเย็นๆ สักแก้ว)

อาหารทุกชนิดถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ต้องมีข้อยกเว้น อย่างคนเป็นโรคไต โรคเบาหวานไม่ควรดื่มมาก และการซื้อน้ำมะพร้าวดื่ม ควรเลือกน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นลูก ไม่ควรซื้อที่บรรจุขวดขาย ถ้าไม่แน่ใจในความสะอาด และสารฟอกขาวต่างๆ ที่สามารถฉีดใส่เข้าไปได้ (ส่วนมากพบในมะพร้าวเผา)

น้ำมะพร้าวช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์

การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูงซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง นอกจากนี้ การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ
และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย

น้ำมะพร้าวช่วยให้ผิวพรรณสดใส

น้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดีแถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย ( คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์)จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูงทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เที่ยวเมืองนอกพกยาอะไรกันบ้าง? ยา 15 ตัวที่แพทย์แนะนำให้ติดตัว

เที่ยวเมืองนอกพกยาอะไรกันบ้าง? ยา 15 ตัวที่แพทย์แนะนำให้ติดตัวเมื่อเดินทาง

ติดตามข้อมูลท่องเที่ยวจากเพจ 2Baht.com กดไลค์ด้านล่าง

สัมภาระสำคัญที่นักเดินทางควรพกติดตัวอยู่เสมอคือ “ยาประจำตัว” เรื่องนี้ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว แต่คำถามต่อมาคือนอกจากยารักษาโรคประจำตัวของเราเองแล้ว เราควรพกยาอะไรไปอีกบ้าง ถึงจะครอบคลุมอาการเจ็บป่วยทั่วไป โดยที่ยังไม่ต้องบ้าหอบฟาง พกยาปริมาณมากเกินไปจนกินพื้นที่สัมภาระอย่างอื่น

ทีมงาน 2Baht.com ลองสอบถามประเด็นนี้ไปยังแพทย์หลายรายที่เดินทางด้วยกันเป็นประจำ และได้รับคำแนะนำมาดังนี้

Travel medicines

คำแนะนำของคุณหมอคือให้จัดยาแยกตาม “กลุ่มอาการ” ที่พบบ่อยทั้งหมด 5 กลุ่ม รวมแล้ว 15 ตัวยา ได้แก่

  1. แก้ไข้ แก้ปวด แก้เมื่อย อาการภายนอกที่พบบ่อยเวลาเดินทาง
  2. แก้เมารถ เมาเรือ ซึ่งมักเกิดตอนขึ้นยานพาหนะ
  3. อาการด้านระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่คือ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ
  4. แก้แพ้ และอาการด้านหูคอจมูก เจอบ่อยเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
  5. กลุ่มยาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาเฉพาะสำหรับโรคประจำตัว (ถ้ามี)

หมายเหตุ: ชื่อยาอาจแตกต่างกันไปตามชื่อทางวิทยาศาสตร์หรือชื่อทางการค้าของแต่ละบริษัท ควรตรวจสอบกับเภสัชกรอีกครั้ง

กลุ่มยาแก้ไข้ แก้ปวด แก้เมื่อย

1. PARACETAMOL พาราเซตามอล (500 mg)

สำหรับ : แก้ไข้ แก้ปวด
วิธีทาน : 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง

คงไม่ต้องอธิบายกันมากกับ “พาราเซตามอล” ยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยได้ทั้งอาการแก้ไข้ ตัวร้อน และแก้ปวดตามจุดต่างๆ ถือเป็นยามาตรฐานที่ทุกคนควรพกติดตัวอยู่แล้ว

คำแนะนำ การทานยาพาราเซตามอล ควรทานให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว โดยเอาน้ำหนักไปคูณ 10 จะเป็นปริมาณยาพาราเซตามอลที่ควรทาน เช่น  ผู้หญิงตัวเล็กหนัก 42 กิโลกรัม ก็ควรทานยา 420 มิลลิกรัม หรือ ทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมเพียง 1 เม็ดเท่านั้น (รายละเอียด)

2. NORGESIC นอร์จีสิก (ยาคลายกล้ามเนื้อผสมยาแก้ปวด)

สำหรับ : เมื่อมีอาการปวดเมื่อยจากการเดินมากๆ
วิธีทาน : 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหาร

ในทริปที่ต้องใช้วิธีเดินเท้ามากๆ หรือจัดโปรแกรมแน่นจนต้องเดินทั้งวัน อาการปวดเมื่อยจะตามมาจนทำให้วันต่อไปเที่ยวไม่สนุกเพราะขาจะร้าวไปหมด การกินยาคลายกล้ามเนื้อย่อมช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยเหล่านี้ได้ค่ะ

เทคนิคอีกอย่างที่ช่วยคลายเมื่อยได้ดีคือถ้าห้องพักมีอ่างอาบน้ำ ก็สามารถเติมน้ำร้อนเพื่อแช่เท้าสักระยะหนึ่ง ช่วยคลายกล้ามเนื้อจากการเดินมาทั้งวันได้

3. DICLOFENAC ไดโคลฟีแนค

สำหรับ : แก้ปวดเมื่อย เช่น ปวดเข่า ข้อบวม
วิธีทาน : 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหาร

คำแนะนำ กรณีเป็นโรคกระเพาะให้ใช้ CEREBREX หรือ ARCOXIA แทน

ไดโคลฟีแนคเป็นยาแก้ปวดเมื่อยอีกตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าเป็นโรคกระเพาะก็ควรระวังไว้หน่อย

4. VOLTAREN GEL โวลทาเรนเจล

ยาใช้ภายนอก สำหรับทาแก้ปวดเมื่อย

โวลทาเรนเจล เป็นยาทาภายนอก ใช้ทาบริเวณกล้ามเนื้อจุดที่เมื่อยควบคู่ไปกับยากินข้างต้นได้

กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ

5. DRAMAMINE ดรามามีน

สำหรับ : แก้เมารถ เมาเรือ
วิธีทาน: 1 เม็ดก่อนออกเดินทาง 15 – 30 นาที ทานแล้วจะง่วงซึมหรือหลับเลยทีเดียว

อาการเมารถเมาเรืออาจไม่ได้เกิดกับทุกคน ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นคนเมารถเมาเรือง่ายก็ควรมีติดตัวอยู่แล้ว แต่ถึงแม้เราจะไม่ได้เมารถเมาเรือ การพกพายาตัวนี้ไปย่อมจะได้ใช้งานยามเพื่อนร่วมทริปออกอาการ ในกรณีที่รถขึ้นเขา ขับเหวี่ยง หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร

6. NORFLOXACIN นอร์ฟลอกซาซิน (400 mg)

สำหรับ : แก้ลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ เช่น ท้องเสีย
วิธีทาน : 1 เม็ด เช้า-เย็นหลังอาหาร

การไปต่างถิ่นที่ต้องกินอาหารแปลกๆ จนอาจเกิดอาการท้องเสียได้ ส่วนจะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นกับสภาพการณ์ แต่การท้องเสียย่อมทำให้การเดินทางไกลไม่สะดวกเพราะต้องหาห้องน้ำเข้าเป็นระยะๆ (แถมบางประเทศก็หาห้องน้ำระหว่างทางยากกว่าเมืองไทยมาก) การเตรียมยาแก้ท้องเสียไปด้วยย่อมช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงได้

7. IMODIUM อิโมเดียม

สำหรับ : ลดการบีบตัวของลำไส้ กรณีท้องเสียรุนแรง
วิธีทาน : 2 เม็ดทันที หลังจากนั้น 1 เม็ดทุกครั้งที่ถ่าย หรือ ทุก 4-6 ชั่วโมง และไม่เกิน 4-6 เม็ด

8. ULTRACARBON อัลตราคาร์บอน (ถ่านอัดเม็ด)

สำหรับ : ช่วยดูดซึมแก๊ส เมื่อแน่นท้อง ท้องอืด หรือดูดพิษเมื่อท้องเสีย
วิธีทาน : 1-2 เม็ด และไม่ควรทานร่วมกับนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม และยาอื่นๆ (หากจำเป็นควรทานห่างจากยานี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง)

9. ผงเกลือแร่ ORS

สำหรับ : ชดเชยการสูญเสียน้ำในกรณีท้องเสีย
วิธีทาน : ละลายผงเกลือแร่ผสมน้ำสะอาดดื่มแบบค่อยๆ จิบ (ถ้าหาแก้วน้ำลำบาก สามารถละลายลงในขวดแล้วทานได้)

ผงเกลือแร่ไม่ได้แก้ท้องเสียโดยตรง แต่การท้องเสียจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากจนอ่อนเพลีย สามารถใช้ผงเกลือแร่ช่วยฟื้นฟูร่างกายกลับมาได้

10. SIMETHICONE ไซเมทิโคน  หรือ (Air-X) แอร์เอ็กซ์

สำหรับ : แก้ท้องอืด แน่นท้อง
วิธีทาน : 1-2 เม็ด เคี้ยวก่อนอาหาร

นอกจากอาการท้องเสียแล้ว อาการที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารคือท้องอืดหรือแน่นท้อง อันเป็นผลมาจากการกินน้ำอัดลมหรือกินมากเกินไป (สำหรับทริปตระเวณชิมทั้งหลาย) ถ้ารู้ตัวว่ามีอาการลักษณะนี้ได้ง่ายก็ควรพกยากลุ่มนี้ไปด้วย (แถมยากลุ่มนี้ใช้การเคี้ยว ไม่ต้องกินคู่กับน้ำด้วย)

กลุ่มยาแก้แพ้ และหูคอจมูก

11. CETIRIZINE เซไทริซีน หรือ LORATADINE ลอราทาดีน

สำหรับ : แก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูก
วิธีทาน : 1 เม็ดต่อวัน

อาการแพ้อากาศ หรือแพ้วัตถุบางอย่างจนเกิดอาการคันอาจเกิดได้เสมอ เมื่อแพ้อากาศแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือน้ำมูกไหลไม่หยุด ดังนั้นถ้าแพ้อากาศง่ายก็ควรพกยาแก้แพ้ตัวนี้ไปด้วย

คำเตือน การทานยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม

12. AMOXYCILLIN อะม็อกซีซิลลิน (500 mg)

สำหรับ : รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะคออักเสบ
วิธีทาน : 1 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (3 เวลาหลังอาหาร และก่อนนอน)

นอกจากแพ้อากาศแล้ว ถ้าเป็นหวัดระหว่างเดินทางจนคออักเสบ ก็ต้องมียาแก้อักเสบติดตัวไปเช่นกัน โดยยาแก้อักเสบมาตรฐานคืออะม็อกซีซิลลิน หาซื้อได้ทั่วไปอยู่แล้ว

กลุ่มยาอื่นๆ

13. POVIDINE IODINE โพวิโดน ไอโอดีน หรือ BETADINE  เบตาดีน

ยาใช้ภายนอก สำหรับทาแผลสด

อุบัติเหตุภายนอกเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนใหญ่คือการหกล้มจนขาหรือแขนเป็นแผลสด ถ้ามียาแบบเบตาดีนติดตัวไป (พร้อมพลาสเตอร์) ก็สามารถใส่เพื่อทำความสะอาดแผลได้

14. ยาดม ยาอม ยาหม่อง 

อันนี้คุณหมอไม่ได้แนะนำว่าตัวไหน ตามแต่ความชอบส่วนตัวเลยค่ะ

15. ยาเฉพาะโรคส่วนตัว

หากเป็นยาที่หาไม่ได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยิ่งต้องพกติดตัวไปด้วยพร้อมกับใบสั่งยาและใบรับรองแพทย์

หมายเหตุ

  • ข้อมูลเหล่านี้ที่เว็บไซต์ 2Baht.com รวบรวมมา ถือเป็นการแนะนำตัวยาในเบื้องต้นเท่านั้น ควรแจ้งยาที่แพ้กับเภสัชอีกครั้งก่อนจ่ายยา
  • กรณีพกยาไปต่างประเทศ อาจจะรบกวนให้เภสัชกรช่วยเขียนฉลากยาเป็นภาษาอังกฤษ และโปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนเดินทาง ว่ายาที่พกไป ไม่เข้าข่ายยาต้องห้ามสำหรับประเทศนั้นๆ ด้วยนะ (กรณีเป็นยาที่หมอสั่งพิเศษ ก็ควรพกใบสั่งยาและใบรับรองแพทย์ไปด้วยนะคะ)
  • ตัวอย่างรายชื่อยาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายและห้ามนำเข้ามาในญี่ปุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมต้องห้าม เช่น Tylenol Cold, Nyquil, Nyquil Liquicaps, Actifed, Sudafed, Advil Cold & Sinus, Dristan Cold (“No Drowsiness”), Dristan Sinus, Drixoral Sinus,  Vicks Inhaler, Lomotil (อ้างอิงจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และ Drug Laws in Japanโดย Kansai Gaidai University)